Raspberry Pi III คืออะไร
Raspberry Pi III คืออะไร
คอมพิวเตอร์ในบอร์ดเดียว หรือ SBC (Single Board Computer) ได้รับการตอบรับจากตลาดสากลอย่างรวดเร็ว การประยุกต์ใช้งานที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ เมนบอร์ดของอุปกรณ์สมาร์ตโฟนต่าง ๆ ซึ่งหนึ่งในบอร์ดที่ได้รับความนิยมและมีชุมชนการเรียนรู้ในอันดับต้น ๆ คือ ราสเบอร์รีไพ
เมื่อปี 2555 ได้ซื้อมาทดลองใช้งาน พบว่ายังมีปัญหาเรื่องกระแสไฟฟ้าเมื่อต่อกับอนุกรมพอร์ต ผ่านไปเพียงแค่ 3 ปีเศษ ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างมาก ในขณะที่ราคายังเท่าเดิม คือ 35 เหรียญ
บอร์ดตัวใหม่ที่นำมาใช้งาน เป็น Raspberry Pi 3 ใช้หน่วยประมลผลกลาง รุ่น ARM Cortex 1.2GHz Quad Core และใช้ GPU Dual Core Multimedia Co-Processor สนับสนุน Open GL และการประมวลผลกราฟิก OpenVG ส่งออกจอภาพด้วย HDMI H.264 ฯลฯ และมีขนาดเพียง 85 x 56 x 17 มิลลิเมตร
ระบบปฏิบัติการบรรจุลงใน micro SD-Card นอกจากนั้น ได้มีระบบปฏิบัติการต่าง ๆ เผยแพร่ออกมามายมากหลายดีสโตร (รุ่น) มาก ได้แก่ Kali , Ubuntu, Debian, Slitaz ฯลฯ
Raspberry Pi ทำอะไรได้บ้าง ?
1. RPI คือ คอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการลินุกซ์ ใช้งานได้ไม่เสียค่าใช้จ่าย เครื่องมือต่าง ๆ ทำงานได้เหมือนกับการใช้ Linux Desktop ทั่วไป
2. RPI อนุญาติให้โต้ตอบกับฮาร์ดแวร์ผ่าน GPIO (General Purpose Input Output) ไม่ว่าจะรับสัญญาณไฟฟ้าจากภายนอก หรือส่งสัญญาณ (Signal) ไปควบคุมการเปิดและปิดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ
3. RPI มี USB Host ทำให้สามารถต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ USB ได้เลย อีกทั้ง ลินุกซ์มีฐานข้อมูลฮาร์ดแวร์ที่ผลิตออกมาจำหน่าย ดังนั้น เสียบ USB ไม่ต้องหาไดรว์เวอร์ ให้ยุ่งยากเหมือนวินโดวส์
4. RPI มีชุมชนการเรียนรู้ (COP : Community of practice) ที่ใหญ่มาก
ขั้นตอนการทำงาน
1. สร้างแผ่นบูต ให้ดาวน์โหลดลินุกซ์ที่ชอบได้ตามต้องการ
2. เขียนอิมเมจที่ดาวน์โหลดลงใน SDCard ด้วยคำสั่ง
$ dd if=ubuntu-minimal-16.04-server-armhf-raspberry-pi.img of=/dev/sdd
เมื่อ พารามิเตอร์ if คือ input file และ of คือ output file (ชี้ไปที่ sdcard)
ปล. ต้องมั่นใจว่าเขียนลงแผ่น SD Card อย่าพลาดไปลงฮาร์ดดีสก์ ข้อมูลจะหายเพราะถูกเขียนระบบ ปฏิบัติการทับลงไป
3. ตั้งค่าเน็ตเวอร์คให้ RPI โดยแก้ไขไฟล์ใน SD Card ดังนี้
$ nano /etc/network/interfaces
auto eth0
#iface eth0 inet dhcp
iface eth0 inet static
address 192.168.2.200
netmask 255.255.255.0
ปล. ตัวอย่างนี้กำหนดค่า IP แบบตายตัว คือ ให้ 192.168.2.200 กับ RPI
4. ต่อสายแลน เข้ากับ HUB คือ RPI -> HUB และ PC->HUB
5. นำ SDCard ใส่ลงในซ็อกเก็ตบน RPI และจ่ายไฟ ซึ่งเป็น สายแบบ Micro-USB ที่ใช้กับมือถือทั่ว ๆ ไป
6. ที่ PC ตั้ง IP ให้กับสายแลนที่อยู่ในวงเดียวกับ RPI ดังนี้
$ sudo p2p1 192.168.2.100 netmask 255.255.255.0
ปล. ฮัพที่ใช้ชื่อมันแปลกดี มันคือ p2p1 ไม่ใช่ eth0 eth1 เหมือนที่เห็นทั่ว ๆ ไป
7. ใช้ SSH ล็อกอินเข้า RPI
$ ssh ubuntu@192.168.2.200
[ใส่รหัสผ่าน ubuntu]
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น